โครงการวิจัยริเริ่มแบบมุ่งเป้า
โครงการ 1 ด้านพลังงานและระบบสิ่งแวดล้อมโลก
วัตถุประสงค์
1. สร้างองค์ความรู้และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ระบบโลกเพื่อบรรเทาวิกฤตด้านพลังงานและภาวะโลกร้อนทั้งในระดับประเทศ และสากลโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นตัวนำ
2. สร้างผลงานทางวิชาการด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่มีความโดดเด่นและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับโลก และผลักดันให้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านวิชาการระดับประเทศและภูมิภาค
3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของประเทศโดยจะเป็นฐานการผลิตและพัฒนาบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณภาพทางวิชาการที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับระดับสากล
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายด้าน พลังงาน สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ระบบโลกของประเทศไทยแบบองค์รวม โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ จากงานวิจัยแบบบูรณาการ
หัวหน้าโครงการ
ดร.พัฒนะ รักความสุข และ รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร
โครงการ 2 ด้านวัสดุศาสตร์และวัสดุวิศวกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษา/วิจัยและพัฒนาด้านวัสดุ ด้านวิศวกรรมวัสดุเชิงนาโน และด้านวิทยาศาสตร์ระดับนาโนและวัสดุ ให้เป็นที่ยอมรับจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ
2. เพื่อสร้างงานวิจัยขั้นพื้นฐานด้านนวัตกรรมวัสดุ ด้านวิศวกรรมวัสดุเชิงนาโน และด้านวิทยาศาสตร์ระดับ นาโนและวัสดุ โดยอาศัยองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก ในการทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานจริง
3. เพื่อผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านวัสดุ ด้านวิศวกรรมวัสดุเชิงนาโน และด้านวิทยาศาสตร์ระดับนาโนและวัสดุ
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านวัสดุ ด้านวิศวกรรมวัสดุเชิงนาโน และด้านวิทยาศาสตร์ระดับนาโนและวัสดุ ไปสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการให้บริการทางเทคนิคและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายการทำวิจัยและพัฒนาบุคลากรร่วมกัน
5. สร้างความตระหนักถึงของโครงการให้กับนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดึงดูดนักศึกษาและนักวิจัยจากต่างประเทศ โดยการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
หัวหน้าโครงการ
ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล
โครงการ 3 ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิศวกรรมชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพและอาหาร
วัตถุประสงค์
2.1 ด้านการวิจัยและพัฒนา
• พัฒนาความร่วมมือกับภาคเอกชน/อุตสาหกรรม โดยการใช้กลยุทธ์การให้บริการวิชาการ และการเจรจาให้ได้ข้อมูลความต้องการและลู่ทางในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงความร่วมมือเพื่อให้สามารถทำงานวิจัยที่เน้นการใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมและ/หรือเชิงพาณิชย์
• เน้นในการเลือกโครงการวิจัยที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และหรือ เทคโนโลยี ไปพร้อมกับการพัฒนาความรู้ความสามารถและความเป็นเลิศ ในกรอบของสาขาเฉพาะทางที่กำหนดไว้
• พัฒนาการเป็นพันธมิตรกับภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ในรูปทวิภาคีไปจนถึงเครือข่ายความร่วมมือทั้งทางด้านวิจัยและพัฒนา บริการวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
• เน้นในการเลือกทำโครงการวิจัยที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ทั้งระหว่างนักวิจัยทั้งภายในและระหว่างกลุ่มวิจัย ให้เกิดเครือข่ายการร่วมมือระหว่างองค์กร
• เน้นทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างกระบวนการและหรือเทคโนโลยีสำเร็จรูปเพื่อให้พร้อมสำหรับการถ่ายทอดให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
• เพิ่มผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์พืชเกษตรอุตสาหกรรม และพัฒนาพืชเขตร้อนและกึ่งร้อน (เน้นพืชอุตสาหกรรม) ให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล
2.2 ด้านการบริการวิชาการ
• ใช้กลยุทธ์การให้บริการวิชาการเชิงรุกเพื่อสามารถนำเอาผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือเทคโนโลยี และความสามารถที่พัฒนาขึ้นนำไปถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรมและใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ตามภารกิจหลักที่วางไว้
• ให้บริการและการให้คำปรึกษาทางวิชาการอย่างมืออาชีพและมีคุณภาพ ทำให้เกิดทัศนคติที่ดี เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ ทำให้สร้างความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรมได้อย่างจริงจังต่อไป
• เน้นให้บริการถ่ายทอดกระบวนการผลิตหรือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและผ่านการทดสอบที่ดีแล้ว และติดตามให้บริการและช่วยเหลือให้มีความสำเร็จในการใช้งานอย่างแท้จริง
• ส่งเสริมให้นักวิจัย วิศวกร และผู้ให้บริการต่างๆ มี Service Mind และร่วมมือกันในการให้บริการทางวิชาการอย่างเต็มศักยภาพ
หัวหน้าโครงการ
รศ.ดร.สุวิทย์ เตีย และ รศ.บุษยา บุนนาค
โครงการ 4 ด้านการผลิตและระบบอัตโนมัติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ด้านการผลิตและระบบอัตโนมัติ
2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน/อุตสาหกรรม โดยการใช้กลยุทธ์การให้บริการวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเจรจาให้ได้ข้อมูลความต้องการและลู่ทางในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงความร่วมมือเพื่อให้สามารถทำงานวิจัยที่เน้นการใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมและ/หรือเชิงพาณิชย์
3. เพื่อพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและความรู้ในเชิงประยุกต์เพื่อ สนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศทุกระดับ
4. เพื่อสร้างงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ใช้ และเหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ เป็นหลักซึ่งต้องนำไปสู่การใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
5. เพื่อเป็นที่บ่มเพาะนักวิจัยและวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพตอบสนองต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมไทย และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพพร้อมใช้ให้กับอุตสาหกรรมข้ามชาติ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ภาณุทัต บุญประมุข
โครงการ 5 ด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
1. ดำเนินงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา สร้างศักยภาพและสะสมประสบการณ์ด้านการคำนวณวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เตรียมพร้อมสำหรับการสนับสนุนงานวิจัยในด้านต่างๆ ของ คลัสเตอร์วิจัยหลักของมหาวิทยาลัย
2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้บริการวิชาการด้านการคำนวณและการบริหารข้อมูลสารสนเทศให้กับ คลัสเตอร์วิจัยหลัก รวมทั้งหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรวมถึงภาคอุตสาหกรรม ในรูปแบบของการร่วมวิจัยค้นคว้า การพัฒนาบุคลากร และการฝึกอบรมวิชาการ ตลอดจนการบริการต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับงานวิจัยในด้านนี้
3. วางพื้นฐานเพื่อสร้างกลุ่มวิจัยทางวิชาการให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติอัน จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและบ่มเพาะ ความรู้ความเข้าใจในวิชาการด้านการคำนวณ ด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสร้างระบบวิเคราะห์และบริหารข้อมูลสำหรับกิจกรรมตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารข้อมูลทางการศึกษา ระบบบริการผู้ด้อยโอกาสทางสุขภาพ รวมถึงนักวิชาการทางด้านภูมิเศรษฐศาสตร์และนักนิเวศวิทยา เป็นต้น
หัวหน้าโครงการ
ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล และผศ.ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์
|